การ ออมเงิน เป็นหนึ่งในการป้องกันความเสี่ยง ความไม่แน่นอน ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งมนุษย์เงินเดือนหลาย ๆ คน บางคนออมเงินไม่อยู่ เราจึงต้องมีเทคนิคออมเงินและปรับให้เขากับนิสัยของเราเอง และไม่ต้องกลัวว่ามันจะยาก เพราะมันง่ายกว่าที่คิดเสียอีก
เทคนิค ออมเงิน
1. เก็บก่อน ใช้ทีหลัง | ออมเงิน
เก็บเงิน 10% ของเงินเดือนเข้าบัญชีออมทรัพย์แยก หรือเปิดบัญชีใหม่แบบฝากประจำ เพื่อเป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องทำอย่างแรกหลังจากได้รับเงินเดือน ซึ่งเราสามารถเลือกระยะเวลาที่ต้องการออมเงินได้ ไม่ว่าจะเป็น 3 เดือน, 6 เดือน, 9 เดือน, 12 เดือน, 24 เดือน หรือ 36 เดือน โดยจะไม่สามารถถอนเงินได้จนกว่าจะครบกำหนด หากกลัวลืมฝากเงินเข้าบัญชี สามารถใช้วิธีการหักเงินในบัญชีแบบอัตโนมัติได้ นอกจากจะสะดวกสบายแล้ว ยังเห็นผลได้ชัดเจนเป็นอย่างมาก
2. แบ่งสัดส่วนเงินให้ชัดเจน
การแบ่งสัดส่วนการออมเงิน โดยมากจะแบ่งเป็น 50-30-20 โดยแบ่งเป็น ค่าใช้จ่ายประจำวัน-ค่าใช้จ่ายส่วนตัว-เงินสำหรับเก็บออม การแบ่งสัดส่วนของเงินจะช่วยทำให้เราวางแผนทางการเงินได้ง่ายมากขึ้น สามารถใช้เงินได้เท่าไหร่และสามารถใช้ได้กับอะไรบ้าง
3. ชอปเท่าไหน ออมเท่านั้น
วิธีออมเงินวิธีนี้อาจจะโหดร้ายไปสักหน่อยสำหรับนักชอปทั้งหลาย โดยเฉพาะกับสาว ๆ ที่เห็นของลดราคาไม่ได้ ยิ่งช่วงไหนที่มีโปรลดราคากระหน่ำละก็ เงินไหลออกกระเป๋าไวมาก ๆ วิธีออมเงินนี้จึงเหมือนมาก ๆ สำหรับนักชอป เพราะหากทำได้ อาจทำให้มีเงินเก็บมากกว่าที่ตั้งเป้าไว้เสียอีก
4. เลือกเก็บแบงก์และห้ามใช้
วิธีออมเงินอีกหนึ่งวิธีที่เห็นผลได้ค่อนข้างชัดเจน คือการเลือกเก็บแบงก์ อาจเลือกเก็บเฉพาะแบงก์ 50 บาท แบงก์ใหม่ หรือเลือกเก็บเฉพาะแบงก์รุ่นเก่า อาจไม่ใช่วิธีเก็บเงินประจำ แต่ก็สามารถเก็บได้เรื่อย ๆ แม้จะครบตามเป้าหมายแล้ว ก็ยังสามารถเก็บต่อไปไว้ใช้ในอนาคตได้อีก
5. เงินเหลือ เท่ากับ เงินออม
ในแต่ละเดือนยังไงก็ต้องมีเงินเหลือบ้างแหละ ไม่ว่าเงินที่เหลือนั้นจะมากเป็น 1,000 บาท หรือน้อยไม่ถึง 10 บาท ก็จับไปเป็นเงินออมให้หมด แม้จะดูเหมือนไม่มีผลเท่าไหร่ แต่เชื่อเถอะว่าวิธีออมเงินแบบนี้ช่วยให้เรามีเงินเก็บได้มากขึ้นจริง ๆ ในระยะยาว
6. ลงทุนในกองทุน
การลงทุน เป็นอีกหนึ่งวิธีออมเงิน ซึ่งสำคัญพอสมควรในยุคนี้ แต่หากมีเวลาน้อยในศึกษาการลงทุน เราสามารถเข้าไปปรึกษากับทางธนาคารได้ โดยแจ้งว่าต้องการลงทุนกองทุน เราก็สามารถเลือกได้ว่าเราต้องการลงทุนแบบไหน ยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน ก็เลือกลงทุนกองทุนนั้น แต่หากลงทุนกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงก็จะได้กำไรมากขึ้นด้วย
อ่านบทความเพิ่มเติม
https://china-investmentcasting.com/
เครดิตภาพ