เมื่อพูดถึง “มรดก” หลายคนอาจมีภาพของการอ่านพินัยกรรมแบบในละคร แต่จริง ๆ แล้ว มรดกยังมีเรื่องการคำนวณอัตราภาษีและการยื่นจ่ายภาษีตามกฎหมายด้วย หรือที่เรียกกันว่า “ภาษีมรดก” นั่นแหละ รับมรดกและภาษี จะเป็นอย่างไรไปดูกันเลย
มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิด รวมถึงสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบต่าง ๆ ตลอดจนหนี้สิน ที่ส่งทอดจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งเมื่อเสียชีวิต
ผู้ได้รับมรดก บ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ | รับมรดกและภาษี
– กลุ่มผู้มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด คือ ผู้สืบสันดาน บิดา มารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
– กลุ่มทายาทโดยพินัยกรรม คือ ผู้รับพินัยกรรมตามที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม
รับมรดกและภาษี คือ ภาษีที่เก็บจากมูลค่าทรัพย์สินของทายาท หลังได้รับจากกองมรดกของผู้ตาย หากผู้รับมรดกใกล้ชิดกับผู้ตาย ก็มีโอกาสรับภาระภาษีน้อยกว่า เพราะมีกำหนดค่าลดหย่อนและอัตราภาษีที่เป็นประโยชน์กับผู้รับที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ตายไว้
การ รับมรดกและภาษี โดยภาษีมรดก 5 ประเภท มีดังนี้
1. อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ
2. หลักทรัพย์ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้แก่ หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ตราสารหนี้ และตราสารอนุพันธ์ต่าง ๆ
3. เงินฝาก หรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน
4. ยานพาหนะ ที่มีหลักฐานทางทะเบียน ได้แก่ รถยนต์ เรือ รถจักรยานยนต์
5. ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นตามกฎหมายในอนาคต
ตามกฎหมายภาษีมรดก หากผู้รับมรดกไม่ใช่บุคคลโดยสัญชาติไทยหรือกฎหมายไม่ได้ถือว่าเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยแล้ว ทรัพสินที่ต้องเสียภาษีจะเหลือเที่ยงทรัพย์สินที่อยู่ในไทยเท่านั้น
อัตราการเสียภาษีการรับมรดก
– หากผู้รับมรดกได้รับมรดกโดยมีมูลค่าสุทธิ (มูลค่าทรัพย์สิน-หนี้สิน) เกินกว่า 100 ล้านบาท ผู้รับมรดกต้องเสียภาษีส่วนที่เกินในอัตราคงที่ 10% หากได้รับมรดกไม่เกิน 100 ล้านบาท ไม่จำเป็นต้องเสียภาษี
– หากผู้รับมรดก เป็นบุพการี (บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด) หรือผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน เหลน ลื่อ บุตรบุญธรรม บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว) ต้องเสียภาษี 5%
การยกเว้นภาษีมรดก ตามกฎหมายภาษีมรดก
1. ได้รับมรดกมูลค่าสุทธิไม่ถึง 100 ล้านบาท
2. เป็นคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายกับเจ้าของมรดก
3. ได้รับมรดกก่อนวันที่กฎหมายบังคับใช้ (กฎหมายภาษีมรดก บังคับใช้วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559)
4. นำมรดกไปใช้เพื่อกิจการศาสนา กิจการศึกษา สาธารณประโยชน์
5. ผู้รับมรดกเป็นหน่วยงานของรัฐ และนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อกิจการศาสนา การศึกษาหรือสาธารณประโยชน์
6. ผู้รับมรดกเป็นองค์กรระหว่างประเทศตามข้อผูกพันที่ไทยมีอยู่
การยื่นเสียภาษีมรดก
ผู้รับมรดกเกิน 100 ล้านบาท ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก (ภ.ม.60) และชำระภาษีภายใน 150 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับมรดก ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
วางแผนภาษีมรดก อย่างไรดี
– ทยอยโอนทรัพย์สินให้ลูกหลานก่อนเสียชีวิตปีละไม่เกิน 20 ล้านบาท จนเหลือไม่ถึง 100 ล้านบาท
– กระจายทรัพย์สินให้ลูกหลานคนละไม่เกิน 100 ล้านบาท
– แปลงทรัพย์สินเป็นรูปแบบอื่นที่ได้รับการยกเว้นภาษี
– ซื้อประกันชีวิต ซึ่งผลประโยชน์จากประกันชีวิตไม่ถือว่าเป็นมรดก
– จัดตั้งเป็นมูลนิธิ ทำสาธารณประโยชน์ พร้อมจดทะเบียนต่อกรมสรรพากร เพื่อขอยกเว้นภาษีได้
อ่านบทความเพิ่มเติม
https://china-investmentcasting.com/
เครดิตภาพ