เชื่อว่ามนุษย์เงินเดือนไม่ว่าจะมือใหม่หรือเก่า อาจยังไม่รู้หรือชำนาญในการยื่นภาษีเท่าไรนัก หรืออาจจะหลงลืมวิธีการลงทะเบียน ยื่นภาษีออนไลน์ กันไปบ้าง มาดูว่าวิธีการยื่นภาษีออนไลน์ 2565 นั้นมีขั้นตอนอย่างไรและต้องเตรียมเอกสารอะไรในการยื่นภาษีบ้าง โดยในทุกช่วงต้นปี ผู้มีรายได้จะต้องยื่นภาษี ภงด 91 และชำระภาษีตามหน้าที่พลเมือง โดยการยื่นภาษีในปัจจุบันสามารถยื่นภาษีออนไลน์ได้โดยไม่ต้องนำเอกสารและเดินทางไปยื่นภาษีกับกรมสรรพากรด้วยตัวเอง ซึ่งสะดวกสบายเอามาก ๆ
เตรียมเอกสารสำหรับการ “ ยื่นภาษีออนไลน์ ”
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือใบ 50 ทวิ จากผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะได้รับเอกสารจากฝ่ายบุคคลในช่วงต้นปี โดยจะระบุข้อมูลรายได้รวมที่ได้รับต่อปี มีการหักชำระเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือประกันสังคมไปเท่าไร
– กรณีมีการเปลี่ยนงานระหว่างปี จะต้องได้รับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากทุกผู้ว่าจ้าง
รายการลดหย่อนภาษี โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว, ค่าลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ, ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกันชีวิตและการลงทุน และค่าลดหย่อนภาษีจากการบริจาค
1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว
– ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว 60,000 บาท
– ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท
– ค่าลดหย่อนบุตร 30,000 บาท (กรณีรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน โดยนับต่อจากบุตรโดยชอบธรรม)
– ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร สูงสุด 60,000 บาทต่อปี
– ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุพการี คนละ 30,000 บาท
– ค่าอุปการะคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 60,000 บาทต่อคน
2. ค่าลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
– ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย จ่ายตามจริง สูงสุด 100,000 บาท
– ค่าใช้จ่ายที่ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต
– เงินลงทุนในธุรกิจ Startup 100,000 บาท
– ช้อปดีมีคืน (1 ม.ค. – 15 ก.พ. 2565) สูงสุด 30,000 บาท
3. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกันชีวิตและการลงทุน
– เงินประกันสังคม 9,000 บาท
– กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) 500,000 บาท
– เบี้ยประกันสุขภาพบุพการี 15,000 บาท
– เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือ เงินฝากแบบมีประกันชีวิต 100,000 บาท
– เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง 15,000 บาท
– เบี้ยบำนาญข้าราชการ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ สูงสุด 200,000 บาท
– กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุด 500,000 บาท
4. ค่าลดหย่อนภาษีจากการบริจาค แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
เงินบริจาคที่ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
– บริจาคสนับสนุนการศึกษา ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10%
– บริจาคให้แก่สถานพยาบาลของรัฐ ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินที่จ่ายจริง แต่รวมกับเงินบริจาคสนับสนุนการศึกษาแล้วต้องไม่เกิน 10%
– บริจาคสนับสนุนการกีฬาให้หน่วยงานด้านกีฬาที่สังกัดสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินที่จ่ายจริง แต่รวมกับเงินบริจาคสนับสนุนการศึกษาแล้วต้องไม่เกิน 10%
เงินบริจาคที่ลดหย่อนภาษีได้ตามปกติ
– เงินบริจาคช่วยเหลือเหตุอุทกภัย บริจาคเงินเพื่อสาธารณกุศล เงินบริจาคให้พรรคการเมือง ลดหย่อนตามจำนวนเงินที่บริจาคจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นแล้ว
ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์
ขั้นตอนที่ 1 เข้าเว็บไซต์ กรมสรรพากร https://efiling.rd.go.th/rd-efiling-web/login
– เข้าสู่ระบบ หรือสมัครสมาชิก สำหรับผู้ยื่นภาษีครั้งแรก โดยกรอกหมายเลขบัตรประชาชน และรหัสผ่านที่ลงทะเบียนไว้
– เลือกหมายเลขโทรศัพท์มือถือ เพื่อรับ OTP ยืนยัน เข้าสู่ระบบ
– กรณีลืมรหัสผ่านให้เลือก “ลืมรหัสผ่าน” ระบบจะมีคำถามให้เลือกตอบ เพื่อตั้งรหัสผ่านใหม่
ขั้นตอนที่ 2 ยื่นแบบข้อมูลภาษี
– ช่องแรก ภ.ง.ด.90/91 เลือก “ยื่นแบบ”
– กรอกข้อมูลจากเอกสารใบ 50 ทวิ ที่ได้รับการว่าจ้างทั้งหมดเข้าสู่ระบบ โดยเลือก “มาตรา 40(1)”
– กรณีฟรีแลนซ์เลือกใส่ข้อมูล “มาตรา 40(2)”
– ตรวจสอบรายละเอียด และเลือกบันทึกข้อมูล
ขั้นตอนที่ 3 กรอกข้อมูลค่าลดหย่อนภาษี
– กรอกข้อมูลรายได้ทั้งหมด รวมถึงภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบข้อมูล
– ตรวจสอบข้อมูลเงินได้และรายการลดหย่อนภาษี (ถ้ามี) ให้ครบถ้วน
– ระบบจะคำนวณยอดภาษีสุทธิมาให้ สามารถตรวจสอบวิธีคำนวณได้โดยเลือก “ดูวิธีคำนวณ”
– กรณีได้ทำการชำระภาษีไปแล้ว ระบบจะแสดงยอดชำระเกิน ซึ่งสามารถเลือก “ต้องการขอเงินคืน” ได้
– เมื่อกรอกครบถ้วนแล้ว สามารถเลือกพิมพ์แบบ บันทึกร่าง หรือยืนยัน เพื่อส่งแบบยื่นภาษีออนไลน์ 2565 ได้ทันที
อย่างไรก็ตาม การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปีจะเปิดให้ยื่นภาษีได้ในช่วง 1 มกราคม – 31 มีนาคม ของทุกปี เว้นกรณีเกิดสถานการณ์พิเศษ จึงเลื่อนการยื่นภาษีออกไป สามารถติดตามข่าวสารการยื่นภาษ๊ออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ทางการกรมสรรพากร